หน่วยงานภาครัฐผนึกกำลังขับเคลื่อน Start-up ด้านชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ 1139 Views


หน่วยงานด้านการวิจัยของประเทศ ประกอบด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)  สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBio) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (TRF) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (ARDA) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมมือกันจัดงาน โครงการ ส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน หรือ “Promoting I with I” (Promoting Life Science Innovation with Investment) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึ้น Start-up ในสาขาเทคโนโลยีชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ โดยรวบรวมคัดเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่มีศักยภาพสูงที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ โดยมีต้นแบบพร้อมออกสู่ตลาดเพื่อนำเสนอแก่นักลงทุน ผู้ประกอบการเอกชนที่สนใจนำไปผลิตและพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์   

โดยงาน “Promoting I with I” ที่จัดขึ้นเปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่นักลงทุนที่สนใจ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเข้านวัตกรรมและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ  พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการตกลงทำสัญญาใช้สิทธิ (Licensign agreement) การจัดตั้งบริษัท Start-up และ Spin off ขึ้นจากผลงานวิจัยและเทคโนโลยีในประเทศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านชีววิทยาศาสร์และสุขภาพของประเทศไทย  และเป็นการตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0  

 


ทั้งนี้ สาขาชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพนับเป็นอีกหนึ่งสาขาเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงของประเทศไทย เนื่องจากไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิม ดังนั้นการสนับสนุนและส่งเสริมให้การพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์และบริการ อาทิ เวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การให้บริการทางสาธารณสุข การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิตยาแผนโบราณ อาหารเสริม รวมถึงเครื่องสำอางจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศได้   

สำหรับผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ร่วมนำเสนอภายในงานที่น่าสนใจ อาทิ

  • ชุดทดสอบพยาธิใบไม้ในตับและกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง สามารถตรวจหาเชื้อจากโคกระบือที่ติดโรค และทราบผลในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง ลดข้อจำกัดของวิธีการตรวจในปัจจุบันที่ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ ซึ่งต้องใช้ทักษะในการวินิจฉัยสูง
  • วัคซีนไวรัสซิกา ช่วยลดการระบาดของไวรัสซิกาในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน
  • สารสกัดจากกวาวเครือขาวในอนุภาคนาโนสำหรับนำส่งสารทางผิวหนัง 
  • สายรัดข้อมือวินิจฉัยและติดตามผู้ป่วยโรคพาร์กิน สามารถวิเคราะห์อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และแยกผู้ป่วยจากภาวะอื่นที่มีอาการสั่นคล้ายพาร์กินสัน ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการประเมินติดตามอาการผู้ป่วยระหว่างการรักษา