กรรมวิธีผลิตปุ๋ยสำหรับปลูกผักกินใบแบบไร้ดิน จากน้ำทิ้ง 2382 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “ปุ๋ยสำหรับปลูกผักกินใบแบบไร้ดิน” จากน้ำทิ้งโดยการหมักของอินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการหมักไร้อากาศ ประกอบกับปุ๋ยเคมี ซึ่งสูตรที่ได้มีธาตุอาหารสำคัญที่มีค่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกินใบแต่ละชนิด รวมถึงช่วยลดการใช้สารเคมี ทำให้ปริมาณการสะสมของไนเตรทในผักมีค่าน้อย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

รายละเอียด

        ผักเป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ช่วยในการบำรุงสายตา วิตามินซีช่วยบำรุงเหงือกและฟัน แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีอย่างไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค  

        “ปุ๋ยสำหรับปลูกผักกินใบแบบไร้ดิน” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยการนำน้ำทิ้งอินทรีย์หมักผ่านกระบวนการหมักไร้อากาศ ประกอบกับปุ๋ยเคมี ซึ่งสูตรที่ได้มีธาตุอาหารสำคัญที่มีค่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกินใบแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นแมกนีเซียมซัลเฟต โพแทสเซียมไนเตรต แมงกานีส และธาตุเหล็ก รวมถึงเป็นการช่วยลดการใช้สารเคมีของเกษตรกร ทำให้ปริมาณการสะสมของไนเตรทในผักมีค่าน้อย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

จุดเด่น

  • ขั้นตอนการเตรียมไม่ซับซ้อน กรรมวิธีง่ายต่อการผลิต
  • ช่วยลดปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่สารปนเปื้อน

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการจะปลูกผักปลอดสารพิษ
  • กลุ่มผู้บริโภคผักปลอดสารพิษที่ต้องการจะปลูกผักกินเอง
  • กลุ่มคณะอาจารย์/นักศึกษา/หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้ในการศึกษา
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยทักษิณ
กลุ่มภารกิจบริหารผลผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์
  • กลุ่มเกษตรกรปลูกผักกินใบแบบไร้ดิน
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ