นาโนซิลิกอนจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เก่า 981 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “นาโนซิลิกอนจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เก่า” เป็นการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ในเชิงอุตสาหกรรมด้วยวิธีการรีไซเคิล (Recycle) สามารถควบคุมขนาดอนุภาคในระดับนาโนเมตรได้ตามความต้องการ มีความแข็งแรงสูง และมีวิธีการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รายละเอียด

        แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนที่ชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยทั่วไปมักนำมารีไซเคิล (Recycle) ได้วัสดุซิลิกอนกลับไปใช้ได้เพียงการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ใหม่อีกครั้งเท่านั้น ยังไม่สามารถรีไซเคิลวัสดุซิลิกอนให้มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้

        “นาโนซิลิกอนจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เก่า” ได้รับการพัฒนาคิดค้นกระบวนการรีไซเคิลแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ได้วัสดุซิลิกอนที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิงอุตสาหกรรม สามารถควบคุมขนาดอนุภาคได้ตามความต้องการใช้งาน มีความแข็งแรงสูง วิธีการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน อีกทั้งผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตยังใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้อีกด้วย เช่น ผลิตขั้วไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เป็นต้น

จุดเด่น

  • สามารถควบคุมขนาดอนุภาคของวัสดุนาโนซิลิกอนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม
  • วิธีการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน
  • ใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์
  • ผู้ผลิตที่ต้องการวัสดุซิลิกอนที่มีขนาดเฉพาะในระดับนาโนเมตร
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณจินดาพร พลสูงเนิน
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ