กรรมวิธีผลิต “DNA biosensor สำหรับตรวจเชื้อวัณโรค” ชนิด Mycobacterium tuberculosis ที่ใช้ง่าย สะดวก แม่นยำ และทราบผลรวดเร็วภายใน 90 นาที
“วัณโรค” (Tuberculosis-TB) จัดเป็นโรคติดต่อชนิดร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่ง ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาปัญหาวัณโรคได้ลดลงและดูเหมือนจะหมดไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนายังไม่ลดลง ยิ่งกว่านั้นในหลายประเทศกลับมีการแพร่ระบาดมากขึ้น
สำหรับประเทศไทย “วัณโรคปอด” ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยในปี2550 พบผู้ป่วยวัณโรคปอดจำนวนถึง 23,745 ราย เสียชีวิต 141 ราย และถ้าดูแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วัณโรคมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิด “มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส” (Mycobacterium tuberculosis) เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ทางอากาศ โดยการจาม ไอรดกัน การพูดคุยกัน แบคทีเรียก่อโรควัณโรคจัดอยู่ในกลุ่มมัยโคแบคทีเรียที่โตช้าและต้องใช้เวลานานในการเพาะเลี้ยงประมาณ 1-2 เดือน โดยร้อยละ 5-10 ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะป่วยเป็นวัณโรค เชื้อวัณโรคส่วนมากก่อโรคที่ปอดแต่ก็สามารถก่อโรคที่อวัยวะอื่นได้ ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการโดยวิธีการ “เพาะเลี้ยงเชื้อ” อาทิ Polymerase chain reaction (PCR), Ligase chain reaction (LCR), Transcription mediated amplification (TMA) เป็นการตรวจที่ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำสูงสุดในปัจจุบัน แต่มีข้อจำกัดคือใช้ระยะเวลาหลายเดือนกว่าจะทราบผล และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก นอกจากนี้ ในขั้นตอนการ gel electrophoresis เพื่อตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมีการใช้สาร Ethidium bromide ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งในผู้ป่วยได้
เทคโนโลยี “DNA biosensor สำหรับตรวจเชื้อวัณโรค” นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยโรควัณโรคทุกชนิดที่ให้ผลถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ระยะเวลาตรวจน้อยกว่าวิธีในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถทราบผลภายใน 60 นาที ใช้งานสะดวกและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า รวมทั้งไม่มีการใช้สารก่อมะเร็งในกระบวนการตรวจสอบ
วิธีใช้
ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมพัฒนาต่อยอดกับผู้สนใจ
ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน