นวัตกรรมยางพาราสำหรับดูดซับคราบน้ำมันในแหล่งน้ำ 2969 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีผลิต “วัสดุดูดซับคราบน้ำมันจากยางพารา” ผ่านการออกแบบให้สามารถดูดซับน้ำมันปิโตรเลียมที่รั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ง่าย ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

รายละเอียด

        ปัญหาการรั่วไหลของน้ำมันปิโตรเลียม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากมีการปนเปื้อนของน้ำมันในน้ำที่ระดับความเข้มข้น 1-3 มิลลิกรัม เป็นเวลามากกว่า 4 วัน ดังนั้นการกำจัดน้ำมันรั่วไหลจะต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์และสุขภาพของผู้พักอาศัยที่อยู่ในบริเวณโดยรอบของที่เกิดเหตุ วิธีการกำจัดน้ำมันเบื้องต้นคือต้องจำกัดพื้นที่การรั่วไหลของน้ำมันปิโตรเลียมจากนั้นทำการแยกน้ำมันออกจากแหล่งน้ำหรือบริเวณที่สัมผัสน้ำมัน โดยใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การใช้ปั๊ม การใช้วัสดุดูดซับน้ำมันหรือการใช้จุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายน้ำมัน เป็นต้น

        “วัสดุดูดซับคราบน้ำมันจากยางพารา ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อช่วยกำจัดน้ำมันออกจากแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถกักเก็บน้ำมันในตัววัสดุได้เพื่อประโยชน์ในการนำน้ำมันปิโตรเลียมที่รั่วไหลกลับมาใช้ (Recovery) ในกระบวนการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ และสามารถนำวัสดุดูดซับกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusable) วัสดุดูดซับน้ำมัน (พาราโวลา) ผลิตจากยางพาราซึ่งเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่มีราคาไม่สูงมาก หาได้ง่ายภายในประเทศ  เป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพารา ตลอดจนช่วยลดการนำเข้าสารเคมีหรือวัสดุดูดซับสำหรับการกำจัดคราบน้ำมันจากต่างประเทศได้

         วิธีใช้

  1. ต่อวัสดุดูดซับน้ำมัน (พาราโวลาสตริป) ให้ได้พื้นที่ตามที่ต้องการ กระตุ้นวัสดุดูดซับให้ขยายเต็มปลอกตาข่าย
  2. วางไว้ในบริเวณที่ต้องการดูดซับน้ำมัน
  3. นำสตริปขึ้นจากแหล่งน้ำ พักให้น้ำไหลผ่านออกจากสตริป รีดน้ำมันออก
  4. จัดเก็บสตริปที่ใช้แล้วลงถังบรรจุ

        หมายเหตุ หากต้องการใช้งานอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ร่วมกับเครื่องรีดแบบลูกกลิ้งได้

แทรกรูปก่อนจุดเด่น.PNG

จุดเด่น

  • ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลัก สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพารา
  • พาราโวลาสามารถดูดซับน้ำมันได้มากกว่า 10 เท่าของน้ำหนักโฟมเริ่มต้น
  • สามารถลอยน้ำได้จึงเหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่มีคลื่นลม
  • สามารถนำพาราโวลากลับมาใช้ดูดน้ำมันซ้ำได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยไม่ต้องทำความสะอาด
  • ใช้งานได้เอนกประสงค์ โดยใช้ตัวเชื่อมต่อที่ปลอกตาข่าย
  • อายุการเก็บรักษาพาราโวลาที่ยังไม่ได้ใช้งานนานถึง 2 ปี
  • สามารถกักเก็บน้ำมันไว้ในพาราโวลาโฟม และสามารถนำน้ำมันที่ได้กลับมาใช้ใหม่ผ่านการบีบกดที่มากพอ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • หน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดน้ำมันในแหล่งน้ำ
  • โรงงานและนิคมอุตสาหกรรมที่น้ำเสียมีการปนเปื้อนของน้ำมัน
  • บ่อบำบัดน้ำเสียที่มีสาหร่ายขนาดเล็กที่ยากต่อการกำจัด
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุวดี ก้องพารากุล
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ให้บริการรับบำบัดน้ำเสีย หรือ กำจัดขยะมลพิษ
  • บริษัทขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน
  • ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ