หุ่นยนต์เสริมทักษะการสื่อสาร 3691 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี "หุ่นยนต์ช่วยเสริมทักษะการสื่อสาร" รูปร่างคล้ายมนุษย์ มีจอ LCD และ แผงหลอดไฟ LED ขนาดเล็ก รูปตัวอักษร ติดอยู่ด้านหน้าของหุ่นยนต์ พร้อมมีกล่องฝึกทักษะการสื่อสาร ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ สามารถนำมาใช้ฝึกทักษะการสื่อสารทั้งในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางการสื่อสาร

รายละเอียด

        เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายทั้งด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล  การแพทย์ รวมไปถึงใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก อย่างไรก็ตาม ต้นแบบหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้รุ่นแรกยังมีขีดจำกัด จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานหลากหลายและตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

        "หุ่นยนต์เสริมทักษะการสื่อสาร"  ได้ถูกคิดค้นพัฒนาโดยเน้นการฝึกทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้ใช้ โดยหุ่นยนต์จะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ (Humanoid Robot) มีจอ LCD แสดงบนใบหน้า มีแผงหลอดไฟ LED ขนาดเล็ก รูปตัวอักษร ติดอยู่ด้านหน้าของหุ่นยนต์ และมีกล่องฝึกทักษะการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อและควบคุมหุ่นยนต์  ที่ถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์

        หุ่นยนต์เสริมทักษะการสื่อสาร สามารถสร้างกิจกรรมเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจให้กับเด็ก เช่น กิจกรรมการฝึกเลียนแบบท่าทางง่าย ๆ กิจกรรมการเต้นประกอบเพลงของหุ่นยนต์ และกิจกรรมอื่นๆ  ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการฝึกทักษะการสื่อสารทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่มให้แก่เด็ก ทั้งกลุ่มเด็กปกติทั่วไป เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม สมองพิการ โดยสามารถนำมาใช้งานได้จริงทั้งในโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ สถาบันสอนเสริมทักษะ การใช้งานตามบ้านเรือนและใช้เป็นเครื่องมือเสริมการจัดกิจกรรมบำบัดให้กับสถานพยาบาล ปัจจุบันหุ่นยนต์เสริมทักษะการสื่อสาร ได้รับการขึ้นบัญชีสิ่งประดิษฐ์ ผู้สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดโดยการทดสอบมาตรฐาน ออกแบบรูปลักษณ์ให้คงทนและสวยงามได้ตามต้องการ

จุดเด่น

  • ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก
  • ใช้งานง่าย
  • ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์
  • ใช้เป็นเครื่องมือเสริมสร้างการเรียนรู้ได้หลากหลาย
  • มีเนื้อหาสำหรับจัดการเรียนการสอนมากกว่า 100 บทเรียน
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มเด็กปกติทั่วไป
  • กลุ่มผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ดาวน์ซินโดรม สมองพิการ
  • โรงเรียน / ศูนย์การศึกษาพิเศษ / สถาบันสอนเสริมทักษะ
  • โรงพยาบาล / สถานบำบัด
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
.
ปัณรสี ฤทธิประวัติ
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัทอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  • บริษัทอุตสาหกรรมของเล่นเสริมพัฒนาการ
  • ผู้ประกอบการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ