“หัวเชื้อหญ้าหมัก KUB-G” สำหรับอาหารสัตว์ 3036 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีผลิต “หัวเชื้อหญ้าหมัก KUB-G” สำหรับอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้หญ้าหมักคุณภาพดี อ่อนนุ่ม สีเหลืองทองออกเขียว กลิ่นหอม ย่อยง่าย ลดการเกิดท้องอืดและสารพิษในสัตว์

รายละเอียด

        “หญ้าหมัก” หรือ “ไซเลจ” เป็นพืชอาหารหยาบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหมักด้วยเชื้อกลุ่มแบคทีเรียกรดแลกติก (lactic acid bacteria, LAB) เพื่อผลิตกรดอินทรีย์หรือสารยับยั้งชนิดอื่น ๆ ช่วยยืดอายุหญ้าหมักให้มีอายุการใช้งานนาน

        การทำหญ้าหมักเป็นวิธีถนอมพืชอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เกษตรกรนิยมใช้ ช่วยให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่าจะมีอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้อย่างพอเพียงตลอดปีแม้ในช่วงฤดูแล้งที่อาจพบปัญหาความไม่พอเพียงของอาหารหยาบ ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการหมักหญ้า คือ เชื้อแบคทีเรียกรดแลกติกที่ดีและมีปริมาณเพียงพอเพื่อให้ได้หญ้าหมักคุณภาพดี

        “หัวเชื้อหญ้าหมัก KUB-G” ได้ถูกพัฒนาคิดค้นโดยการคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียกรดแลกติกที่เหมาะสมสำหรับการผลิตหญ้าหมักคุณภาพดีที่มีค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม ปริมาณกรดแลกติกสูง  ปริมาณกรดบิวไทริคและแอมโมเนียต่ำ  ช่วยลดสารพิษในสัตว์ โดยใช้หัวเชื้อผงปริมาณ 1 กรัม ต่อการหมักหญ้า 5 ตัน  ซึ่งปริมาณหัวเชื้อที่ใช้ต่ำกว่าหัวเชื้อทางการค้าถึง 5 เท่า จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก จากนั้นผสมหัวเชื้อที่ละลายในน้ำกับหญ้าและอัดให้แน่น บ่มทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จะได้หญ้าหมักที่มีสีเหลืองทองออกเขียวและมีกลิ่นหอมออกเปรี้ยวของกรดแลกติก เพิ่มความน่ากิน หญ้าอ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ลดการเกิดท้องอืดในสัตว์

จุดเด่น

  • ใช้ปริมาณหัวเชื้อในการผลิตหญ้าหมักต่ำกว่าหัวเชื้อทางการค้าถึง 5 เท่า
  • มีความคงตัวสูง
  • ได้หญ้าหมักที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะสีเหลืองทองออกเขียว และกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุนของกรดอะเซติก
  • ต้นทุนต่ำ ได้กำไรเร็ว

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • เกษตรกรผู้เผลิตอาหารสัตว์
  • เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ แพะ แกะ
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุนีย์ นิธิสินประเสริฐ
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
  • ผู้ประกอบการผลิตสารเสริมทางชีวภาพ ด้วยระบบ Fermentation technology
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ