สารสกัดจากพืชสำหรับฆ่าเชื้อบริเวณเต้านมโค 1285 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีผลิต “สารสกัดจากพืชสำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณเต้านมโค” สำหรับควบคุมและป้องกันโรคเต้านมอักเสบในโคนม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปริมาณและคุณภาพของน้ำนมลดลง 

รายละเอียด

        “โรคเต้านมอักเสบในโคนม” เป็นสภาวะที่บริเวณต่อมน้ำนมเกิดการติดเชื้อจากจุลินทรีย์จำพวก Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae, Candida albicans, Bacillus cereus, Escherichia coli เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่การอักเสบบริเวณต่อมน้ำนม ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพน้ำนมลดลง  โดยทั่วไปการควบคุมและป้องกันโรคเต้านมอักเสบในโคนม มักใช้วิธีจุ่มหรือสเปรย์ด้วยโลชั่นที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อก่อนและหลังการรีดนม ซึ่งสเปรย์หรือโลชั่นที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น iodophers, สารประกอบควอเทอร์นารีแอมโมเนียม (quaternary ammonium compounds), เกลือ chlorhexidine, oxidizing compounds เป็นต้น  และมักเสื่อมสลายได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อทำความสะอาดเต้านมไม่ดี  เศษสิ่งสกปรกที่ติดอยู่จะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารฆ่าเชื้อได้           

        “สารสกัดจากพืชสำหรับฆ่าเชื้อบริเวณเต้านมโค” ได้รับการพัฒนาคิดค้นให้อยู่ในรูปแบบโลชั่นที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อสำหรับควบคุมและป้องกันโรคเต้านมอักเสบในโคนม สามารถใช้ทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่บริเวณเต้านมสัตว์ได้ มีความคงตัวและออกฤทธิ์ได้นาน ไม่เสื่อมสลายง่าย มีความปลอดภัย ผ่านการทดสอบใช้งานจริงในฟาร์มโคนม

จุดเด่น

  • สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่บริเวณเต้านมสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้อยู่เดิม 
  • มีความปลอดภัยสูง เพราะสกัดจากพืชธรรมชาติ
  • สารออกฤทธิ์มีความคงตัว เก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พรรณรวี กบิลพัฒน์
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน


  • ผู้ผลิตยาและอาหารสัตว์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ