ระบบบำบัดของเสียครบวงจรสำหรับโรงงานแปรรูปยาง 1922 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        “เทคโนโลยีบำบัดของเสียสำหรับโรงงานแปรรูปยางพารา” ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตยางแท่ง น้ำยางข้น  โดยกระบวนการบำบัดประกอบด้วยการบำบัดน้ำเสียและของเหลวโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological method) และการจัดการกากของแข็งโดยวิธีทางกายภาพ  สามารถกำจัดของเสียได้แบบครบวงจรรวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียดังกล่าวจนสามารถนำไปกลับใช้ประโยชน์และจำหน่ายสร้างรายได้กลับคืนสู่กิจการ

รายละเอียด

        “น้ำทิ้งและของเสีย” เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราทั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้นและยางแท่ง ซึ่งของเสียเกิดขึ้นจากการปั้นเหวี่ยงน้ำยางและการใช้น้ำจำนวนมากเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกในกระบวนการผลิต น้ำทิ้งและของเสียดังกล่าวหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง  ซึ่งมักปรากฎเป็นข่าวร้องเรียนอยู่เสมอ  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้งระบบบำบัดของเสียภายในโรงงานให้ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

        “ระบบบำบัดของเสียแบบครบวงจรสำหรับโรงงานแปรรูปยาง” ได้รับการพัฒนาคิดค้นวิธีจัดการของเสียภายในโรงงานแปรรูปยางพารา ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัดแต่มีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งสามารถนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ สร้างรายได้เพิ่มให้กับโรงงานได้อีกด้วย งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการทางชีวภาพ (Biological method) โดยอาศัยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กช่วยให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดีสามารถนำกลับไปหมุนเวียนใช้ในโรงงานได้อีก  นอกจากนี้ ยังได้ “ไรแดง”  สิ่งมีชีวิตอีกชนิดที่ใช้ร่วมกันในกระบวนการบำบัดเป็นผลพลอยได้ สามารถจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ ราคาจำหน่ายตั้งแต่กิโลกรัมละ 80 – 100 บาท  สร้างรายได้กลับคืนสู่กิจการ   สำหรับของเสียในรูปของแข็ง (กากขี้แป้ง) ซึ่งเกิดจากกระบวนการปั่นเหวี่ยงในการผลิตน้ำยางข้น  ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ก็สามารถนำไปพัฒนาเป็นปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินช่วยเร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช โดยสามารถใช้กับพืชทุกชนิด 

        วิธีจัดการของเสียด้วยกระบวนการทางชีวภาพจากงานวิจัยนี้ช่วยให้โรงงานแปรรูปยางพาราสามารถจัดการ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียทั้งในรูปของเหลว (น้ำเสีย) และของแข็ง (กากขี้แป้ง) เท่ากับว่ากิจการสามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบยางธรรมชาติได้ทุกส่วนโดยเกิดของเสียน้อยที่สุดหรือหรือไม่มีของเสียเลย  (Zero-Waste Manufacture) นับเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Increasing productivity)   ลดต้นทุน (Reducing cost )  ในกระบวนการผลิต พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protecting environment)

จุดเด่น

  • สามารถใช้ทดแทนหรือปรับใช้ร่วมกับระบบบำบัดของเสียที่มีอยู่เดิม อาทิ  ระบบเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) และระบบบำบัดด้วยสารเคมี ได้เป็นอย่างดี

  • ช่วยประหยัดต้นทุนค่าติดตั้ง  ค่าบริหาร ค่าไฟฟ้าและสารเคมี  รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี

  • สามารถนำของเสียทั้งของเหลวและของแข็งกลับมาใช้ประโยชน์  เพิ่มมูลค่าให้กับของเสียที่เดิมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดทิ้ง  กลายเป็นรายได้เพิ่มกลับคืนสู่กิจการ พร้อมๆกับสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • ไรแดงและวัสดุปรับปรุงดินซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการจัดการของเสียได้ตรวจสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงงานแปรรูปยาง อาทิ โรงงานผลิตน้ำยางข้นและยางแท่ง

  • ผู้สนใจทั่วไป

พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน


   

  • โรงงานแปรรูปยาง อาทิ โรงงานผลิตน้ำยางข้นและยางแท่ง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ