ชุดตรวจสอบหาปริมาณฟอร์มาลินในอาหารแบบรวดเร็ว 1764 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีการผลิต “ชุดตรวจสอบหาปริมาณสารฟอร์มาลินแบบรวดเร็ว”  ให้ผลวิเคราะห์รวดเร็ว แม่นยำ ใช้งานง่าย และราคาประหยัดกว่าชุดตรวจสอบประเภทเดียวกัน

รายละเอียด

        “ฟอร์มาลีน (Formalin)” หรือ “ฟอร์มัลดีไฮด์” (น้ำยาดองศพ) เป็นสารเคมีในกลุ่มสารประกอบอินทรีย์กลุ่มอัลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไม่มีสี และติดไฟง่ายที่อุณหภูมิห้อง  ฟอร์มาลิน ฟอร์มีลีนถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ในทางการแพทย์ใช้ฟอร์มาลินในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องผู้ป่วย  ในอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น อุตสาหกรรมกระดาษใช้เพื่อให้กระดาษลื่นและกันน้ำได้ และยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไม้อัด นอกจากนี้ คุณสมบัติที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ยังถูกนำไปใช้ในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยวและใช้เพื่อป้องกันแมลง

        ฟอร์มาลินเป็นสารเคมีที่มีพิษ หากสูดดมฟอร์มาลินเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนผลต่อระบบผิวหนังคือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง หากปนเปื้อนกันอาหารในปริมาณ 30 - 60 มิลลิลิตร จะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และเสียชีวิต หรือ หากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเป็นเวลานานจะทำให้เกิดมะเร็งได้  ดังนั้นกระทรวงสาธารณุสุขจึงได้ประกาศห้ามใช้ฟอร์มาลินกับอาหาร

        แม้มีข้อห้ามในการใช้กับอาหาร แต่ยังพบการใช้ฟอร์มาลินในอาหารซึ่งมักปรากฏเป็นข่าวเนืองๆ อาทิ ในอาหารทะเลต่างๆ โดยเฉพาะปลาหมึก เนื้อสัตว์ต่างๆ ผักสด เช่น ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ยอดมะพร้าว ผักกาดขาว ฯลฯ

        “ชุดตรวจสอบหาปริมาณฟอร์มาลินในอาหารแบบรวดเร็ว ” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้ตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทั่วไปได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความแม่นยำที่ยอมรับได้ ในราคาประหยัดกว่าชุดทดสอบฟอร์มาลีนทั่วไป เหมาะสำหรับผู้ผลิตอาหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บริโภคทั่วไปที่ต้องการใช้ตรวจฟอร์มาลีนในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ  

 


 

จุดเด่น

  • ให้ผลการทดสอบอย่างรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน
  • มีความแม่นยำที่ยอมรับได้
  • ต้นทุนการผลิตต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจวัดฟอร์มาลินวิธีการอื่นๆ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตอาหารทุกประเภท
  • ผู้ส่งออกอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ทะเล พืชผักผลไม้
  • ผู้บริโภคทั่วไปที่คำนึงถึงความปลอดภัยในอาหาร
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ฐาปนีย์ สังข์ศิริ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจอาหารและการเกษตร
  • หน่วยงานรัฐที่ต้องการร่วมพัฒนาต่อยอด

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัทผู้ผลิตชุดทดสอบอาหาร
  • หน่วยงานรัฐผู้ผลิตชุดทดสอบอาหาร เช่น กรมวิทยาศาสตร์ทางแพทย์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ