สารเปปไทด์สำหรับใช้รักษาโรคปริทันต์ 1150 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีผลิต “สารเปปไทด์สำหรับใช้รักษาโรคปริทันต์” มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปริทันต์ ช่วยลดปัญหาการดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคปริทันต์

รายละเอียด

        “โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกรำมะนาด” สาเหตุเกิดจากการทำความสะอาดฟันไม่ทั่วถึง ทำให้เชื้อแบคทีเรียจากเศษอาหารก่อตัวขึ้นและกระจายตัวบนผิวฟันเกิดเป็นคราบพลัก ทำให้เกิดอาการบวมแดง และกระดูกรากฟันถูกทำลาย โดยวิธีการรักษานั้นจะใช้วิธีการขูดหินปูน เกลารากฟัน และใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งตัวยาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรค และเชื้อประจำถิ่นซึ่งเป็นเชื้อดี ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มปฏิชีวนะเป็นเวลานานจะทำให้เชื้อดื้อยา และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น

        “สารเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์”  ได้รับการพัฒนาคิดค้นซึ่งเป็นผลจากการความพยายามค้นหาสารใหม่ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อที่ก่อโรคปริทันต์  (P.gingivalis , P.intermedia และ Tannerella forsysthesis) โดยสารเปปไทด์ที่ค้นพบนี้มีฤทธิ์ทำลายผนังเซลล์ทำให้เซลล์แบคทีเรียก่อโรคไม่สามารถแบ่งตัวได้สำเร็จ ไม่ทำลายเชื้อประจำถิ่น รวมทั้งสามารถออกฤทธิ์ได้ในร่องลึกปริทันต์ และมีความปลอดภัยต่ออวัยวะและเซลล์ต่างๆในร่างกาย ช่วยแก้ปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และได้สารใหม่ในการรักษาโรคปริทันต์เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

        สำหรับสารเปปไทด์นี้สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปากได้หลายรูปแบบ อาทิ การเคลือบในไหมขัดฟัน ผลิตภัณฑ์ในรูปแผ่นหรือเจลเพื่อใช้สอดหรือฉีดในร่องเหงือกเพื่อใช้รักษาโรคปริทันต์ เป็นต้น

 

 

 

จุดเด่น

  • มีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคปริทันต์ โดยไม่ทำลายเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น
  • ลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ
  • ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการรักษา และการนำเข้าจากต่างประเทศ
  • สามารถเลี้ยงเชื้อและผลิตได้ไม่ซับซ้อน

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตยาและผลิตภัณฑ์ในช่องปาก
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกเฉพาะทาง
  • ผู้ป่วยโรคปริทันต์
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ฐาปนีย์ สังข์ศิริ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการผู้ประกอบการที่สนใจร่วมพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • อุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ในช่องปาก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ