ระบบฟาร์มอัจฉริยะเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า 2193 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “ระบบฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าอัจฉริยะ” ด้วยการออกแบบทางวิศวกรรมที่ได้มาตรฐานทั้งระบบเปิดและระบบปิด ต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตสูง สามารถแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปัญหาหมอกควันในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีระบบควบคุมการให้แสงเพื่อการควบคุมการเจริญเติบโต และการจ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเพิ่มผลผลิตและควบคุมคุณภาพผลผลิตอีกด้วย

รายละเอียด

        “สาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina platensis)” สาหร่ายขนาดเล็กมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งโปรตีน มีอะมิโนโปรตีนที่จำเป็นซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง เช่น ไอโซลิวซีน ลูซีน ไลซีน เมไธโอนีน เทรโอนีน เป็นต้น ในปริมาณสูงกว่าเนื้อสัตว์ มีวิตามินจำพวกเบตาคาโรทีนสูงกว่าในผักถึง 25 เท่า ประกอบด้วยธาตุเหล็กในปริมาณมากกว่าตับ 28 เท่า และเป็นแหล่งรวมของวิตามินบี 12 จึงได้รับความนิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยภาครัฐส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงในเชิงพณิชย์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

         “ระบบฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าอัจฉริยะ” ได้รับการพัฒนาออกแบบระบบทางวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมการผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบด้วยระบบเปิดและระบบปิดที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)  ต้นทุนผลิตต่ำ สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ อีกทั้งยังสามารถรองรับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศ  เช่น ปัญหาหมอกควันในเขตพื้นที่จังหวัดภาคเหนือได้โดยใช้แสงจากหลอดแอลอีดี ซึ่งตั้งค่าการเปิดปิดแสงที่เหมาะสมกับการสังเคราะห์แสงไว้  ปัจจุบันระบบฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าอัจฉริยะได้รับการติดตั้งเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์จริง ณ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสำหรับพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจ

ระบบควบคุมภายในฟาร์มสาหร่ายอัจฉริยะ ประกอบด้วย

  1. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temp/Rh control) ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในบ่อเลี้ยงสาหร่ายได้โดยการติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ฮีตเตอร์ลมร้อน และเครื่องเพิ่มลดความชื้น อีกทั้งยังควบคุมห้องอบแห้งเบื้องต้น (Pre-drying) ให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงพอโดยใช้เทคนิคโรงเรือนจากสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect)

  2. ระบบควบคุมความเป็นกรดด่างและการจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ (pH control & CO2) สามารถเป็นแหล่งอาหารเสริมคาร์บอน และใช้ควบคุมความเป็นกรดด่างของบ่อเลี้ยงสาหร่ายให้เหมาะสมตลอดเวลา

  3. ระบบหมุนเวียนน้ำด้วยระบบแสงอาทิตย์ (Solar cell for paddle wheel) เป็นระบบทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ขับใบพัดหมุนเวียนน้ำ

  4. ระบบควบคุมการสังเคราะห์แสงจากหลอดแอลอีดี (LED control for PAR) เป็นระบบควบคุมคุณภาพและความเพียงพอในการสังเคราะห์แสงแดดจากธรรมชาติ ซึ่งมีระบบตรวจวัดและตั้งค่าการเปิดแสงจากหลอดแอลอีดีซึ่งได้ตั้งสภาวะที่เหมาะสมกับการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสไปรูลิน่าไว้แล้ว

  5. ระบบเก็บเกี่ยวสาหร่าย (Microalgae harvesting) จะช่วยลดต้นทุนแรงงานกับเวลาที่ใช้ในการผลิตเชิงพาณิชย์

จุดเด่น

  • นวัตกรรมเพื่อการผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าที่ให้ผลผลิตสูง ด้วยต้นทุนที่ต่ำ
  • มีระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงทั้งอุณหภูมิและความชื้น การให้แสง ความเป็นกรดด่าง การจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ หมุนเวียนน้ำ ฯลฯ 
  • สามารถแก้ปัญหาผลกระทบต่อการเลี้ยงสาหร่ายอันเนื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปัญหาหมอกควันได้เป็นอย่างดี 
  • รองรับกระบวนการผลิตทั้งระบบเปิดและระบบปิด
  • ระบบได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการผู้ประกอบการที่สนใจร่วมพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ