วิธีการผลิต “ MED-SWU TONGUE-TIE DIRECTOR ” เครื่องมือที่ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะลิ้นติดในทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ทำให้มารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้
“ภาวะลิ้นติดในทารกแรกเกิด” เป็นภาวะผิดปกติของทารกแรกเกิด พบได้ประมาณร้อยละ 15 โดยหากทารกที่ไม่ได้รับการรักษาก่อนกลับบ้านจะเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ทำให้มารดาไม่สามารถให้นมบุตรในสัปดาห์แรกได้ ทารกจึงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ภาวะดังกล่าวนับเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ การเจ็บหัวนมของมารดายังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น หัวนมแตก เต้านมอักเสบ และฝีที่เต้านมได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทั้งมารดาและเด็ก
โดยทั่วไป การรักษาภาวะลิ้นติดทำได้โดยการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นออก (frenotomy) ให้ทารกสามารถแลบลิ้นออกมาได้ดีขึ้น การผ่าตัดสามารถทำได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยใช้กรรไกรหรือจี้ไฟฟ้าตัดพังผืดออก ไม่จำเป็นต้องใช้ยาดมสลบ และหลังการผ่าตัดทารกสามารถกินหรือดูดนมแม่ได้ทันที
“MED-SWU TONGUE-TIE DIRECTOR” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะลิ้นติดของทารก โดยอุปกรณ์จะช่วยประเมินระดับความรุนแรงของภาวะลิ้นติดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของแพทย์ในการให้การรักษา รวมทั้งการวัดตำแหน่งก่อนทำการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นในทารกแรกเกิด ทำให้การผ่าตัดมีความสะดวก แม่นยำ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยผลของการใช้อุปกรณ์ “MED-SWU TONGUE-TIE DIRECTOR” จะช่วยแก้ปัญหาทารกที่มีภาวะลิ้นติด ลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บหัวนมของมารดาซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
ต้องการผู้ประกอบการที่สนใจร่วมพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์
ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน