Carbon-zeolite composites เมมเบรนแยกไบโอเอทานอลประสิทธิภาพสูง 1232 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

       สูตรและกรรมวิธีการผลิต “Carbon-zeolite composites เมมเบรนแยกไบโอเอทานอล” สำหรับใช้แยกไบโอเอทานอล มีประสิทธิภาพในการแยกและความเสถียรสูง แยกไบโอเอทานอลได้บริสุทธิ์มากกว่า 80%  สามารถใช้งานซ้ำทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนในกระบวนการผลิต

รายละเอียด

       การผลิต“ไบโอเอทานอล” นับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย  ไบโอเอทานอลผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ ซึ่งมีปริมาณมากในประเทศ  เป็นพลังงานทดแทนทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ การผลิตไบโอเอทานอลใช้กระบวนการหมักและกลั่นแยกเอทานอล ซึ่งปัญหาที่พบโดยทั่วไปก็คือ ต้องใช้พลังงานและเครื่องกลั่นราคาสูง และไบโอเอทานอลที่แยกได้ยังมีความบริสุทธิ์น้อย ต้องกลั่นซ้ำหลายครั้งหรือต้องใช้เทคโนโลยีอื่นๆ ร่วมด้วย  ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี pervaporation หรือกระบวนการแยกไบโอเอทานอลโดยใช้เมมเบรน (เยื่อเลือกผ่าน) มาใช้ ซึ่งช่วยให้สามารถประหยัดพลังงาน และทำให้ได้ไบโอเอทานอลบริสุทธิ์ปริมาณเพิ่มขึ้น  แต่ข้อจำกัดของระบบ pervaporation ก็คือ เมมเบรนมี่ใช้ยังคงมีราคาที่สูง รวมทั้งมีเสถียรภาพและอายุการใช้งานที่ต่ำ

       “Carbon-zeolite composites” ได้ถูกพัฒนาคิดค้นขึ้นเป็นเมมเบรนชนิดใหม่สำหรับใช้แยกไบโอเอทานอล มีประสิทธิภาพในการแยกและเสถียรภาพสูง สามารถใช้ซ้ำและมีอายุการใช้งานนาน ผลิตจากวัตถุดิบชีวมวล (biomass based precursors) ได้แก่ lignin, cellulose และ alginate ซึ่งอยู่ในกระบวนการผลิตของโรงงานที่ต้องการแยกไบโอทานอลอยู่แล้ว เช่น โรงงานน้ำตาล ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก  Carbon-zeolite composites ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ทดแทนเมมเบรนชนิดเดิมที่ใช้อยู่ทั่วไป โดยสามารถแยกไบโอเอทานอลได้บริสุทธิ์มากกว่า 80% จากระบบหมัก โดยใช้กำลังปั๊มที่ต่ำและไม่ต้องผ่านกระบวนการการกลั่น

จุดเด่น

  • นวัตกรรมเมมเบรนแยกไบโอเอทานอลชนิด มีรูพรุนขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการแยกและเสถียรภาพที่สูง โดยใช้สารประกอบหลักเป็นสารจากชีวมวล เพื่อใช้ในการแยก bioethanol ให้ได้มากกว่า 80%
  • ขั้นตอนการผลิตที่ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้วัตถุดิบโดยเฉพาะชีวมวลที่มีอยู่ในโรงงานได้ เช่น โรงงานน้ำตาล เป็นต้น

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงงานผลิต/แยก ไบโอเอทานอลจากระบบหมักโดยการกลั่น
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหลมทอง ชื่นชม
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์
  • ต้องการคู่ร่วมวิจัยจากทางพาณิชย์ เพื่อต่อยอดโครงการ ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • โรงงานผลิต/แยก ไบโอเอทานอลจากระบบหมักโดยการกลั่น
  • อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เอทานอลเป็นวัตถุดิบ เช่น ไบโอดีเซล
  • ผู้สนใจลทุนทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ