เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม 1274 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ใช้สำหรับทดแทนการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน  ต้นทุนผลิตต่ำ  ประสิทธิภาพสูง ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย และไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด

        ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรนาคมจำเป็นต้องมีโครงข่ายที่ทั่วถึงและตัวระบบโครงข่ายต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงระบบอยู่ตลอดเวลา โดยในสถานีฐานเครือข่ายทุกสถานีจะมีระบบพลังงานสำรองหรือ UPS (Uninterruptible Power Supply) เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง  ซึ่งตัวระบบ UPS ในปัจจุบันมีจุดอ่อนคือ ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ทำให้พื้นที่การตั้งสถานีเครือข่ายต้องมีขนาดใหญ่ตามระบบสำรองไฟตามไปด้วย ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านพื้นที่ติดตั้งสูงตามมา และยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาต่อเนื่องหรือการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 3 ปี ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานตัว UPS เลยก็ตาม

        “เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้าชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton Exchange Membrane Fuel Cell : PEMFC) ซึ่งเป็นเชลล์พลังงานที่ใช้หลักการทางไฟฟ้าเคมีโดยใช้ไฮโดเจนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างพลังงานไฟฟ้าและผลผลิตพลอยได้คือน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีของเสียอื่น ๆ (ในระบบเดิมที่ใช้แบตเตอรี่จะมีก๊าซพิษกักอยู่ในอากาศภายในภาชนะ) ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากหมดอายุการใช้งาน เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่มีการสร้างก๊าซเรือนกระจก ในปัจจุบันในประเทศไทยเซลล์พลังงานชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่แนวโน้มในอนาคตจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้วิจัยและพัฒนาหลักการทำงานเพื่อผลิตกระไฟฟ้าโดยให้ใช้ปฏิกิริยาทางเคมี และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบ UPS ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น หากต้องการ 1 MW จะใช้พื้นที่เท่ากับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต รวมไปถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ทำให้ต้นทุนในการตั้งสถานีฐานเครือข่ายต่ำลง  นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้าภายในครัวเรือน เครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดพกพา (Portable Power Generator) โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Plant) รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicle) ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage) หรือสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) เป็นต้น

จุดเด่น

  • ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์เชื้อเพลิงชนิด PEM (Proton Exchange Membrane Fuel Cell : PEMFC) พลังงานไฮโดรเจน และระบบกักเก็บพลังงาน มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และบริษัทมีผลงานวิจัยที่เกิดจากการต่อยอดงานวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ
  • มีต้นทุนในการผลิตต่ำ ดูแลบำรุงรักษาง่าย
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าการใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ขนาด 1MW มีขนาดเพียงแค่ตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุตเท่านั้น
  • มีอายุการใช้งานนานกว่าเซลล์เชื้อเพลิงประเภทอื่น เนื่องจากระหว่างการเกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีจะเกิดความร้อนต่ำที่สุด
  • มีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องสำรองไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 3 ปี
  • สามารถสำรองไฟฟ้าได้ต่อเนื่องและยาวนานเท่าที่ต้องการ โดยใช้พื้นที่น้อยกว่าการสำรองไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่
  • ไม่ก่อมลพิษในระหว่างการทำงาน ผลของปฏิกิริยาหลังผลิตกระแสไฟฟ้าจะได้น้ำบริสุทธิ์ออกมา เทียบกับการอัดประจุแบตเตอรี่ซึ่งจะเกิดก๊าซพิษสะสมในอากาศตลอดเวลา

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

 

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ธุรกิจโทรคมนาคม
  • สถานีทวนสัญญาณ สถานีเรดาร์ ที่ต้องใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า
  • ธุรกิจอื่นทุกประเภทที่จำเป็นต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
บจก.ฟูเอลเซลล์ไทย
ชัชวาลย์ สถาปนกุล
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์
  • มีความพร้อมด้านเงินทุน และต้องการเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วในตลาดโลก
  • งบวิจัยเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงให้มีราคาที่ถูกลง

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำรองไฟ
  • ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า
  • ธุรกิจโทรคมนาคม
  • ผู้สนใจลงทุนทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ