เคมีชีวภาพ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 1582 Views

        อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเติบโตเร็วในอนาคต และเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอลที่พัฒนาแล้ว โดยไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียน มีการใช้เอทานอล 2.9 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซล 2.8 ล้านลิตรต่อวัน อีกทั้งเป็นผู้นำการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียน โดยมีผู้ประกอบการมากกว่า 3,000 ราย และเป็นผู้นำการผลิตเม็ดพลาสติกในอาเซียน 6.6 ล้านตันต่อปี ตลอดจนเป็นฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน (Home Care) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล (Personal Care) และเครื่องสำอาง

        จากการคาดการณ์ สินค้าชีวภาพคือทิศทางของอนาคต โดยในปี 2020 มูลค่าตลาดพลาสติกชีวภาพจะเพิ่มขึ้นเป็น 560,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 23% และสินค้าชีวภาพเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจสีเขียว โดยเศรษฐกิจสีเขียวเริ่มเป็นกติกาสากล เนื่องจากสหภาพยุโรปกำหนดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเป็น 20% ภายในปี 2020 ขณะที่สหรัฐอเมริกามีมาตรการบังคับให้ภาครัฐซื้อสินค้าชีวภาพ ส่วนอิตาลีเก็บเงินจากผู้ใช้ถุงพลาสติกจากปิโตรเคมี 0.1-0.2 เหรียญยูโรต่อใบ และเยอรมนีกำหนดมาตรฐานสินค้าชีวภาพเพื่อเพิ่มการรับรู้ (Awareness) ให้กับผู้บริโภค รวมทั้งภาคธุรกิจต่างๆ กำลังปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยเริ่มหันมาใช้วัตถุดิบชีวภาพทดแทนปิโตรเลียมมากขึ้นเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก จึงนับเป็นโอกาสสำหรับในการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมนี้

ตัวอย่างหัวข้อโจทย์ที่สามารถส่งให้เรา:

  • สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
  • การจัดการของเสียภายในโรงงาน
  • การควบคุมมลภาวะทางอากาศ
  • การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การบำบัดน้ำเสีย
  • การเพิ่มมูลค่า Waste
  • Biodesel
  • พลังงานทดแทน
  • Solar cell
  • การฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์
  • Factory Infrastructure
  • Plastic manufacturing plant
  • Proteomics
  • Microbial fermentation
  • Bioprocess development
  • Biofuels and biochemicals
  • Molecular biology
  • การสร้างประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ (Waste2Profit)
  • การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นวัสดุมูลค่าเพิ่ม (Waste2Material)
  • การจัดการวัสดุเหลือใช้ขั้นสุดท้ายอย่างเหมาะสม (Waste2Land)
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพจากของเสียอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
  • ระบบในการจัดการชีวมวลและขยะเพื่อผลิตพลังงาน
  • การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (EnergyStorage) ชนิดต่าง ๆ

หมายเหตุ  หัวข้อข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างโจทย์ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพเท่านั้น  ผู้สมัครฯ สามารถระบุหัวข้อโจทย์ที่ต้องการหาผู้เชี่ยวชาญได้ตามตัวอย่างด้านบนหรือกำหนดหัวข้อโจทย์ด้วยตนเองในแบบฟอร์มสมัครฯ

ผู้เชี่ยวชาญ / นักวิจัยพร้อมรับโจทย์
จำนวน 0 คน
ระดับความพร้อม
-
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ