เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 1122 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีออกแบบและสร้าง “เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน” มีคุณภาพเสียงที่ดี ไม่มีเสียงรบกวน พกพาสะดวก ราคาประหยัด ผู้ฟังสามารถปรับระดับความดังได้ตามต้องการ มีระบบควบคุมระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 90 เดซิเบล ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเสียงดังได้

รายละเอียด

        “การบกพร่องทางการได้ยิน” ซึ่งมีสาเหตุมาจากส่วนของรูปหูชั้นในซึ่งไม่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินต้องไม่ถึงขั้นหนวกสนิท นั่นคือสูญเสียระดับการได้ยินตั้งแต่ 41-70 เดซิเบล ซึ่งต้องอาศัยเครื่องช่วยฟังในการขยายเสียงให้รับฟังเสียงได้ดีขึ้น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ชอบใส่เครื่องช่วยฟัง เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และที่สำคัญมีเสียงรบกวน หรือเสียงก้อง อีกทั้งเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพดีนั้นมีราคาสูง หากยิ่งสูญเสียการได้ยินมากราคาก็จะยิ่งสูงมากด้วย

        “เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน” ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นเพื่อทดแทนข้อด้อยของเครื่องช่วยฟังที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป อาศัยหลักการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วปรับปรุงและขยายสัญญาณให้เหมาะสม ส่งไปหูผู้ฟัง ซึ่งสามารถปรับระดับเสียงได้ตามต้องการ มีขนาดเล็กพกพาได้ ราคาถูก มีคุณภาพเสียงที่ดี เสียงดังชัดเจน ไม่มีเสียงก้องหรือเสียงรบกวนสามารถป้องกันเสียงที่ดังเกินได้  สามารถปรับระดับความเข้มเสียงได้ในช่วง 41-70 เดซิเบล และตอบสนองได้ตามช่วงที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 200-3800 เฮิรตซ์ นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันเสียงดังเกินกว่าระดับ 90 เดซิเบล

จุดเด่น

  • เครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพเสียงดีไม่มีเสียงก้อง หรือเสียงรบกวน มีระบบป้องกันเสียงดังเกิน 90 เดซิเบล
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้วัตถุดิบและเครื่องมือที่หาได้ง่ายภายในประเทศ
  • สามารถปรับความดัง-ค่อย ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
  • เหมาะกับผู้บกพร้องทางการได้ยินตั้งแต่ระดับ 41-70 เดซิเบล ตั้งแต่ 200-3800 เฮิรตซ์
  • ใช้กับแบตตเตอรี่ 5 โวลต์สามารถชาร์จได้

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

 

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการฟัง
  • ผู้สูงอายุ
  • โรงพยาบาลของภาครัฐและเอกชนที่มีแผนกหู
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยรังสิต
รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ
สถานะผลงาน
ระดับการทดลอง (Experimental)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ
  • ต้องการหาผู้ร่วมทดสอบคลินิกและการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นี้

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ