ชุดตรวจวัณโรคชนิดดื้อยาด้วยตาเปล่า 1097 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “ชุดตรวจวัณโรคชนิดดื้อยาด้วยตาเปล่า” สำหรับการตรวจหาเชื้อวัณโรคที่สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ใช้งานง่าย แสดงผลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเทคนิคมาตรฐาน

รายละเอียด

        “วัณโรค” เป็นโรคติดเชื้อซึ่งเป็นถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย  ปัจจุบัน พบว่าเชื้อวัณโรคจำนวนมากดื้อต่อยา rifampicin และ isoniazid ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษา ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มสูงขึ้น  การทดสอบความไวต่อยา rifampicin และ isoniazid  จึงมีความจำเป็นมากเพื่อให้สามารถเลือกใช้ยารักษาวัณโรคที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยและลดการแพร่กระจายของเชื้อ  อย่างไรก็ตาม การทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรคจำเป็นต้องอาศัยห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อมสูงในการเพาะเลี้ยงเชื้อ และต้องใช้เวลาทดสอบนาน 1-3 เดือน  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือที่อาศัยหลักการอณูชีววิทยาเข้ามาทดสอบ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง และมีภาระในการดูแลรักษาเครื่องมือทดสอบ ส่งผลให้การทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรคจำกัดอยู่แต่ในโรงพยาบาลขนาดกลางถึงใหญ่ ในขณะที่การแพร่ระบาดของวัณโรคเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

        “ชุดตรวจวัณโรคชนิดดื้อยาด้วยตาเปล่า” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้ตรวจเชื้อวัณโรคและการดื้อยาของเชื้อวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เทียบเคียงกับเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ   โดยใช้เทคนิคการตรวจหายีนของเชื้อวัณโรคที่สัมพันธ์ต่อการดื้อยาชนิดดังกล่าว โดยอาศัยหลักการตรวจทางอณูวิทยา และใช้แผ่น strip ที่สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ให้ผลตรวจอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเทคนิคมาตรฐาน ใช้งานง่าย สามารถใช้ในโรงพยาบาลขนาดเล็กหรือโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ

จุดเด่น

  • ใช้งานง่าย อ่านผลได้ด้วยตาเปล่า และให้ผลการทดสอบอย่างรวดเร็ว (ภายใน 24-40 นาที) และมีประสิทธิภาพสูง
  • ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ
  • สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ หรืองานภาคสนาม 
  • ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเทคนิคดั้งเดิมในปัจจุบัน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องมือ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดเล็ก
  • สถานพยาบาลชุมชน
  • สำนักวัณโรค
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล
สถานะผลงาน
ระดับงานวิจัย (Initial)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน


  • บริษัทผลิตชุดตรวจหรืออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์
  • หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ