ผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมะม่วงพร้อมบริโภคสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก 1107 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

       สูตรและกรรมวิธีการผลิต “ผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมะม่วงพร้อมบริโภคสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก” ผ่านกระบวนการดัดแปลงเนื้อสัมผัสของอาหารให้เหมาะกับผู้มีภาวะกลืนลำบาก อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและลำคอ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสมอง ฯลฯ  พร้อมบริโภค ไม่ต้องเคี้ยว กลืนง่ายไม่สำลัก และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

รายละเอียด

       “ภาวะกลืนลำบาก” เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมของช่องปากและคอหอย มักพบในผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคหลอดเลือดสมอง และผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ ทำให้เกิดความอยากอาหารน้อยลง เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร  ขาดน้ำ และติดเชื้อทางเดินหายใจจากการสำลักได้ แนวทางช่วยเหลือที่สำคัญก็คือก็คือการการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการดัดแปลงเนื้อสัมผัสอาหารให้มีเนื้อสัมผัสอ่อนนิ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลืนได้ง่ายขึ้น

       “ผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมะม่วงพร้อมบริโภคสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก  โดยการดัดแปลงสูตรอาหารไทย ได้แก่ ข้าวเหนียวมะม่วงตามมาตรฐานของ National Dysphagia Diet (ระดับ 1: Dysphagia pureed diet โดยมีลักษณะเป็นอาหารข้นเป็นเนื้อเดียวกัน เกาะกันเป็นก้อน คล้ายพุดดิ้ง)  ได้เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวมะม่วง บรรจุในถุงรีทอร์ทเพาช์และบรรจุภัณฑ์กระป๋อง มีความคงตัวและคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี และผ่านการทดสอบในอาสาสมัครพบว่ามีรสชาติดี  สามารถกลืนได้ง่าย ไม่สำลักในขณะบริโภค

จุดเด่น

  • กลืนง่าย ไม่ต้องเคี้ยว
  • คุณค่าทางด้านโภชนาครบถ้วน
  • พร้อมรับประทาน สะดวกต่อการพกพา
  • อายุการเก็บรักษานานกว่า 1 ปีที่อุณหภูมิห้อง
  • ทดสอบกับผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบากแล้วว่ามีเนื้อสัมผัสเหมาะสมและไม่ทำให้เกิดการสำลักขณะรับประทาน
  • มีความหนืดอยู่ในช่วง 4.9 -7.7 Pa.s จัดว่าเป็น Dysphagia pureed diet ตามเกณฑ์ของ The National Dysphagia Diet

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • สถานดูแลผู้สูงอายุ
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก
  • ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและลำคอ
  • ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  • ผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีภาวะกลืนลำบาก
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.พร้อมลักษณ์ สมบูรณ์ปัญญากุล
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมเพื่อผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก
  • ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ