พอลิเมอร์อุ้มน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชในพื้นที่แห้งแล้ง 3947 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกระบวนการผลิต “พอลิเมอร์อุ้มน้ำ” คิดค้นขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติการอุ้มน้ำของดินในแปลงปลูกพืชที่มีพื้นที่แห้งแล้ง หรือใช้ผสมกับดินเพื่อปลูกพืชในอาคารบ้านเรือน ช่วยลดระยะเวลาในการให้น้ำ และแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก

รายละเอียด

        ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น หรือฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ “น้ำ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเพาะปลูกขาดแคลนหรือไม่เพียงพอต่อการดูแลบำรุงรักษาต้นพืช และส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง

       “พอลิเมอร์อุ้มน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชในพื้นที่แห้งแล้ง” หรือ Superwater absorbent polymer (SWA) ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติการอุ้มน้ำของดิน หรือใช้ผสมกับดินเพื่อปลูกพืชในอาคารบ้านเรือน โดยพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำสูงผลิตด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่มีลักษณะเฉพาะ สามารถอุ้มหรือกักเก็บน้ำได้ในปริมาณ 200-300 เท่าของน้ำหนักแห้ง และสามารถย่อยสลายได้ในดินจึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะแก่การนำมาใช้ในงานเกษตรเชิงพาณิชย์ รวมถึงการเพาะปลูกในครัวเรือน

จุดเด่น

  • ปลอดภัยไม่ทำลายคุณภาพของดิน
  • เพิ่มคุณสมบัติการอุ้มน้ำของดิน
  • เพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์พืชธรรมชาติ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • เกษตรกร
  • ผู้ที่ต้องการเพาะปลูกในบ้านเรือนทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
มงคล ดีศิลป์แพทย์
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต/ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายดินเพื่อการเกษตร
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ