ชุดทดสอบพาราควอตแบบเทียบแถบสีมาตรฐาน 2115 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี "ชุดทดสอบพาราควอตแบบเทียบแถบสีมาตรฐาน" สามารถหาปริมาณสารพาราควอตตกค้างในผักผลไม้ได้ในระดับต่ำสุดที่ 0.25 มิลลิกรัม/ลิตร ทราบผลการตรวจสอบในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที ช่วยให้เกษตรกรหรือประชาชนที่ต้องการตรวจสอบการตกค้างของสารพาราควอตเบื้องต้นสามารถใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ราคาจับต้องได้

รายละเอียด

        พาราควอต (Paraquat) คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของยากำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ในปัจจุบันประเทศไทยมีการสั่งห้ามใช้สารชนิดนี้ในการกำจัดวัชพืช เนื่องจากเป็นสารมีที่มีความเป็นพิษสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่เกษตรกรบางส่วนยังมีการนำมาใช้อยู่ ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคอาจสัมผัสหรือรับประทานผักผลไม้ที่มีสารตกค้างของพาราควอตได้โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบเองได้ เนื่องจากการวิเคราะห์หาปริมาณสารพาราควอต โดยทั่วไปต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ มีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์สูง ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้ตรวจสอบหาปริมาณสารพาราควอตตกค้างในสิ่งแวดล้อมในระดับเบื้องต้นแบบคัดกรองและรวดเร็วได้

        “ชุดทดสอบพาราควอตแบบเทียบแถบสีมาตรฐาน”  ได้รับการพัฒนาคิดค้นให้สามารถใช้งานง่าย โดยสามารถหาปริมาณสารพาราควอตตกค้างได้ในระดับต่ำสุดที่ 0.25 มิลลิกรัม/ลิตร ทราบผลการตรวจสอบในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที ต่อ 1 ตัวอย่าง ทำให้ลดระยะเวลาในการตรวจสอบ มีความถูกต้องแม่นยำในการหาปริมาณสารพาราควอตในตัวอย่างน้ำผักและเมล็ดธัญพืช ชุดทดสอบพาราควอตแบบเทียบแถบสีมาตรฐานประกอบด้วย สารทดสอบ 3 ชนิด  แถบสีมาตราฐานสำหรับเทียบหาปริมาณ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ  คู่มือการใช้ชุดทดสอบ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเฉพาะบุคคล สามารถตรวจสอบได้ 100 ครั้งต่อชุด ช่วยให้เกษตรกรหรือประชาชนที่ต้องการตรวจสอบการตกค้างของสารพาราควอตเบื้องต้นสามารถใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ราคาจับต้องได้ ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคที่สนใจสุขภาพสามารถเลือกทานสินค้าทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย

จุดเด่น

  • สามารถทดสอบหาสารพาราควอตได้ง่าย รวดเร็ว
  • มีความแม่นยำในการหาปริมาณพาราควอตในน้ำผัก และ เมล็ดธัญพืช
  • เกษตรกรและผู้บริโภคทั่วไปสามารถทดสอบเองได้
  • เหมาะสำหรับใช้ในการทดสอบภาคสนาม

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • อุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ 
  • ห้องปฏิบัติการ หน่วยงานรับทดสอบสารเคมี
  • เกษตรกร
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Jiraporn Klodpeng
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การนำไปใช้ประโยชน์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ