สารชีวภัณฑ์จากราเอนโดไฟด์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก 1589 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี “สารชีวภัณฑ์จากราเอนโดไฟด์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก” เป็นสารชีวภัณฑ์ทางเลือกหนึ่งในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริกซึ่งเป็นโรคที่สําคัญอันดับหนึ่งของการปลูกพริกในประเทศไทย โดยการใช้สารจากราเอนโดไฟล์กําจัดราสาเหตุโรคพืชเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดโรคพืช รวมถึงลดการนําเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ

รายละเอียด

        โรคแอนแทรคโนสมีสาเหตุมาจากกลุ่มเชื้อรา Collectotrichum spp. เป็นโรคที่สําคัญเป็นอันดับหนึ่งของการปลูกพริกในประเทศไทย โรคนี้จะพบได้แทบจะทุกส่วนของพริกได้แก่ ใบ ต้น ผลพริก ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้มากถึง 80% การป้องกันกําจัดโรคนี้ต้องใช้สารเคมีหลายชนิดในปริมาณสูงและทําให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชเกิดอาการดื้อยา ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสารชีวภัณฑ์เพื่อเป็นตัวเลือกในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก เช่น ไตรโคเดอร์มา บาซิลัส ซับทีลิส เป็นต้น แต่เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคนี้มีหลายสปีชีส์และเป็นกลุ่มของเชื้อราที่มีความซับซ้อนสูงมาก ทําให้สารชีวภัณฑ์ที่มีอยู่ไม่สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสได้ทั้งหมด

        “สารชีวภัณฑ์จากราเอนโดไฟด์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก”  ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยการใช้ราที่มีอยู่ในธรรมชาติกําจัดราสาเหตุของโรคพืชนั่นคือราเอนโดไฟล์ ราชนิดนี้มีมีบทบาทสำคัญในการผลิตสารที่เร่งการเจริญเติบโตของพืชรวมถึงยับยั้งการเข้าทำลายโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถอยู่ร่วมกับเนื้อเยื่อภายในพืชเจริญเติบโตได้ครบวงจรชีวิตโดยไม่เกิดโรคหรือการติดเชื้อที่ชัดเจน สามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็วในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งข้อดีของราเอนโดไฟล์ในการพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ คือ จะสามารถทําผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งในรูปแบบสารเคลือบเมล็ด สารละลายที่พ่นได้ทั้งบนใบและผลพริก หรือ ผสมกับดินปลูก มีต้นทุนการผลิตต่ำ ที่สําคัญมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเทียบเท่าหรือดีกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์เป็นทางเลือกหนึ่งในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดโรคพืช รวมถึงลดการนําเข้าสารเคมีจากต่างประเทศอีกด้วย

จุดเด่น

  • สามารถทําผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งในรูปแบบสารเคลือบเมล็ด สารละลายที่พ่นได้ทั้งบนใบและผลพริก หรือ ผสมกับดินปลูก
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเทียบเท่าหรือดีกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่
  • ต้นทุนการผลิตต่ำไม่ต้องนําเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ
  • ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์รวมถึงจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมมีความเจาะจงต่อเป้าหมาย (เชื้อราสาเหตุโรคพืช) และไม่มีสารเคมีตกค้างบนผลพริก
  • สามารถใช้ได้ในการปลูกพริกแบบเกษตรอินทรีย์
  • เชื้อราเอนโดไฟด์สองสายพันธุ์ที่ได้จากเทคโนโลยีนี้สามารถสร้างสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิ (kcondary metabolite) ในปริมาณมาก จึงทําให้สามารถสกัดสารได้ในปริมาณและเพียงพอในการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • เกษตรกรที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์
  • เกษตรกรทั่วไป
  • ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์อินทรีย์
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ