เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 สำหรับใช้ภายนอกอาคาร 2498 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี “เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 สำหรับใช้ภายนอกอาคาร” สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่เปิดกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานต่ำ และมีรูปแบบสวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม

รายละเอียด

        ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) นับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญ เนื่องจากขนาดที่เล็กมากๆนั้นทำให้ฝุ่นละอองเหล่านี้ไม่สามารถถูกดักจับโดยขนจมูกของมนุษย์ จึงสามารถผ่านเข้าสู่ปอดและกระแสเลือด ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กมากทำให้ฝุ่นละอองเหล่านี้ถูกพัดพาไปที่ต่างๆได้ง่าย และสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลายาวนาน

        “เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 สำหรับใช้ภายนอกอาคาร”ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้กำจัดฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่เปิดขนาดใหญ่ โดยใช้หลักการปล่อยประจุไฟฟ้าลบออกไปในอากาศเพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลางและหล่นลงสู่พื้นช่วยป้องกันการกระจายของฝุ่นละออง โดยมีอัตราการดักจับฝุ่นละอองเป็น 100,000 ไมโครกรัม/ชั่วโมง เทียบเท่ากับประสิทธิภาพของต้นไม้ขนาดกลางจำนวน 510 ต้น เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยประจุไฟฟ้าไอออนนี้ได้รับการออกแบบมาให้สามารถที่จะใช้ในระบบเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้งานได้จริง มีความสวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยเพียงชั่วโมงละ 1.50 บาทเท่านั้น

จุดเด่น

  • สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5  ซึ่งมีอนุภาคเล็กมากให้ตกลงสู่พื้นได้ในอัตราสูง
  • สามารถใช้ได้ในระบบเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำเพียงประมาณชั่วโมงละ 1.50 บาทเท่านั้น
  • มีต้นทุนการผลิตต่ำ
  • สามารถขยายขนาดการใช้งานได้ตามขนาดพื้นที่

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • หน่วยงานหรือองค์กรที่มีสำนักงานขนาดใหญ่
  • สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป


พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บุปผาชาติ กันสา
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการหา Co founder

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องกรองอากาศ


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ