กรรมวิธีการสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขาม 1935 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “สารโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขาม” ที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพที่สำคัญ คือ มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย ไม่เป็นพิษ ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นตัวพาสำหรับการปลดปล่อยยา และเป็นสารให้ความชุ่มชื้น ทำให้เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมยา

รายละเอียด

         เมล็ดมะขามเป็นส่วนเหลือทิ้งจำนวนมากในครัวเรือนและในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์มะขาม ซึ่งเมล็ดมะขามประกอบด้วยเปลือกของเมล็ดที่มีสีน้ำตาลและเนื้อด้านสีขาว ซึ่งทั้งสองส่วนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน เนื่องจากประกอบด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ ชนิดไซโลกลูแคน ที่มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำ และมีความหนืดสูง

        “กรรมวิธีการสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขาม”  ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยอาศัยความแตกต่างของความหนาแน่นของผงเมล็ดมะขามและความสามารถในการละลายที่แตกต่างกัน ทำให้ได้กรรมวิธีการสกัดที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีการปนเปื้อนของโปรตีนในปริมาณต่ำ มีคุณสมบัติที่ดีในการดูดซึมน้ำ สามารถใช้เป็นตัวพาสำหรับการปลดปล่อยยาอย่างช้าๆ และเป็นสารให้ความชุ่มชื้น ดังนั้นจึงทำให้เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมยา

จุดเด่น

  • สามารถเตรียมโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขามได้หลายชนิด ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ
  • สามารถใช้เป็นตัวพาสำหรับการปลดปล่อยยา 
  • มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้น

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงงานผลิตเครื่องสำอาง
  • SME/ startup ด้านเครื่องสำอาง
  • ผู้ที่รักสุขภาพ
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้ที่เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยา
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ