ทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มบุคลากรวิจัยระดับสูงและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1833 Views

รายละเอียด

ชื่อทุน:

ทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มบุคลากรวิจัยระดับสูงและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

หน่วยงาน:

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

ระยะเวลารับสมัคร:

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 - 29 มกราคม 2564
(ยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS)

วงเงินที่ให้การสนับสนุน:

งบประมาณสนับสนุนไม่เกิน 8 ล้านบาทตลอดโครงการ (ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี)

รายละเอียด:

ประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โดยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ พัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรทั้งด้านการผลิตและผู้ใช้ บพค. จึงได้เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการเพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นความรู้ใหม่ หรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจ ประเด็นความรู้ที่ยังเป็นช่องว่างเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ ภายใต้โปรแกรมที่ 4 ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

กรอบ / ประเด็นให้การสนับสนุน:

การวิจัยเพื่อสร้างฐานความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นความรู้ใหม่ หรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจประเด็นความรู้ที่ยังเป็นช่องว่างเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน:

  • ผู้รับทุนจะต้องมีสังกัดอยู่ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานวิจัยของภาครัฐ หรือภาคเอกชน (กรณีภาคเอกชนต้องเสนอการวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองและประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประเทศจะได้รับจากโครงการใช้ชัดเจน)

เงื่อนไข:

  1. โครงการวิจัยอาจจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องระบุให้ชัดเจน ดังนี้
  • งานวิจัยที่สร้างความรู้พื้นฐาน (foundational) บุกเบิกความรู้พื้นฐานอย่างใหม่ เพื่อความเป็นเลิศในสาขา หรือ
  • งานวิจัยที่มีเป้าหมายมุ่งหวังไปใช้ในบางเรื่อง (use-inspired) เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์เชิงประยุกต์

     2. โครงการวิจัยควรมีคำอธิบายให้ชัดเจนถึงที่มาและความสำคัญของประเด็นปัญหาในการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของโครงการวิจัย (ข้อ 1) ดังนี้

  • มีการอธิบายชัดเจนว่า สถานภาพขององค์ความรู้และการวิจัยในปัจจุบันเป็นอย่างไร และยังมีช่องว่างของการวิจัย (research gap) อย่างไร
  • มีการนำเสนอวิธีการเติมเต็มช่องว่างของการวิจัยจากสถานภาพขององค์ความรู้เดิม
    มีการระบุผลผลิต (output) ชัดเจนว่าผลผลิตของโครงการคืออะไร สำคัญอย่างไร และเสนอวิธีการ benchmark กับ state of the art ของการวิจัยในปัจจุบัน
  • มีการระบุอย่างชัดเจนโดยมีรายละเอียดว่า ผลผลิตของโครงการวิจัยจะสามารถก่อให้เกิดคุณค่าทางวิชาการสูงเรื่องใด (หากเลือก 1.1) หรือนำไปสู่การตอบโจทย์เชิงประยุกต์อย่างไร และมีแนวทางอย่างไรในการนำไปประยุกต์ (หากเลือก 1.2)

ติดต่อสอบถาม:

โทรศัพท์ : 02-470-7961-3
E-mail : pmu.b@nxpo.or.th

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
Admin Tech2biz
เหมาะสำหรับ
  • อาจารย์ นักวิจัย
  • ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป
ระยะเวลารับสมัคร
หมดเขตรับสมัครแล้ว