ทุนวิจัยนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตเพื่อการพึ่งพาตัวเองในประเทศ 2922 Views

รายละเอียด

ชื่อทุน:

ทุนวิจัยนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตเพื่อการพึ่งพาตัวเองในประเทศ

หน่วยงาน:

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ระยะเวลารับสมัคร:

ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2564 - 5 มีนาคม 2564

วงเงินที่ให้การสนับสนุน:

ไม่จำกัดวงเงินงบประมาณ (โดยต้องเหมาะสมกับปริมาณงานและวิธีการดำเนินงานวิจัย)

รายละเอียด:

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวิสัยทัศน์ว่า “สวก. เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน” โดยเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด (OKR) ระดับประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ และแพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม โปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร และจัดทำเป็นแผนงานและกรอบงบประมาณส่งให้กับกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุน ววน.) รวบรวมเป็นงบประมาณของกองทุน ววน.ของประเทศต่อไป

กรอบ / ประเด็นให้การสนับสนุน:

กรอบการวิจัยที่ 1: อาหารเสริมสุขภาพ (Functional Food)

  • การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหารแสริมสุขภาพ เสริมความสามารถของ กลไกในร่างกายในการดูแลสุขการหรือลดความเสี่ยงการเกิดโรค ซึ่งเป็นอาหารที่อยู่ในรูปธรรมชาติแปรรูปไป เพื่อให้ประสิทธิภาพ นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับจากอาหารหลักที่กินกันในชีวิตประจําวัน โดยหน้าที่ของ อาหารฟังก์ชัน เช่น เสริมระบบป้องกันตนเองของร่างกาย ควบคุมระบบกรทํางานของร่างกาย ชะลอความเสื่อม ของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ลดการเกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

กรอบการวิจัยที่ 2: อาหารทางการแพทย์ (Medical Food)

  • การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหารทางการแพทย์ ใช้เป็นโภชนบําบัด โดย คํานึงถึงรูปแบบของอาหารและกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก อาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรค แต่ช่วยในการป้องกันปัญหาที่เกิดจากโรคหรือช่วยจัดการเกี่ยวกับโรคได้ง่ายขึ้น และต้องไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้นเมื่อรับประทานเข้าไป โดยอาหารทางการแพทย์เป็นอาหารที่ผลิตขึ้นมาและมีสูตรผสมเฉพาะเพื่อใช้กับ เงื่อนไขที่เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อโรค เช่น อาหารสําเร็จรูปที่ให้ทาง สายอาหาร หรืออาหารที่รับประทานเสริมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสภาวะของโรค และการ ใช้อาหารทางการแพทย์จําเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

กรอบการวิจัยที่ 3: อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel food)

การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้นวัตกรรมอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบ ดั้งเดิม เป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการแบบใหม่ “อาหารใหม่” หรือ Novel Food อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 376 เรื่อง อาหารใหม่ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีการนําวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบ อาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการการ ประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ ดังนี้

  • อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่า มีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี
  • อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่ กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทําให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์
  • อาหารใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน:

  • ผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีลักษณะดังนี้
  • มีสัญชาติไทย มีถิ่นพํานักถาวรในประเทศไทย และมีหลักฐานการทํางานมั่นคง
  • มีศักยภาพในการบริหารการวิจัยและ/ หรือการบริหารจัดการ
  • มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในวิทยาการด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับการวิจัยในข้อเสนอการวิจัยที่ขอรับทุนมีศักยภาพ ความพร้อมด้านวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการวิจัยที่จะดําเนินการวิจัยได้สําเร็จ
  • สามารถปฏิบัติงานและควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุน รวมทั้งสามารถดําเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนดอย่างมีคุณภาพ
  • ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับอธิบดี อธิการบดี หรือเทียบเท่าของภาครัฐที่ผู้อํานวยการแผนงานสังกัดอยู่หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าในส่วนของภาคเอกชน ให้ความเห็นชอบและรับรอง
  • เป็นผู้มีจริยธรรมตามจรรยาบรรณนักวิจัย

เงื่อนไข:

ข้อเสนอการวิจัยต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้

  1. มีประเด็นวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมาย (Objectives) และผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ (Key Results) และกรอบการวิจัยตามประกาศนี้
  2. ข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน และไม่จําเป็นต้องมีหลายข้อ
  3. คณะผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทํางานวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  4. ข้อเสนอโครงการจะต้องมีงบประมาณที่เหมาะสม และระบุขอบเขตของแผนการดําเนินงานพร้อมทั้งมีระยะการวิจัยที่ชัดเจน
  5. ข้อเสนอโครงการวิจัยที่เสนอขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย ต้องมีเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  6. ข้อเสนอโครงการควรมีการร่วมมือระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษา ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยต่อไป
  7. ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเสนอการวิจัยนี้ ต้องไม่อยู่ในข้อเสนอการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนวิจัยอื่น กรณีมีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมต้องแสดงขอบเขตการ ดําเนินงานระหว่างงานเดิม และงานใหม่และต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานเดิม ให้นักวิจัยนําทรัพย์สินทางปัญญาจากการวิจัยมาดําเนินการวิจัยต่อยอด หาก สวก.ตรวจพบว่า ข้อเสนอการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนซ้ำซ้อนหรือมีการดําเนินการวิจัยมาแล้ว สวก. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนทุนวิจัย และเรียกเงินทุนวิจัยคืน
  8. กรณีโครงการวิจัยเป็นการดําเนินงานในลักษณะการวิจัยร่วม (Co-funding) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้าง จากหน่วยงานอื่น ให้แสดงรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าว โดยระบุงบประมาณในแต่ละรายการในข้อเสนอการวิจัย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ
  9. กรณีที่เป็นการวิจัยที่ใช้คนหรือสัตว์ในการทดลอง จะต้องส่งข้อเสนอการวิจัยพร้อมใบรับรองการอนุมัติให้ดําเนินการวิจัยหรือ Certificate of Approval ที่ออกโดยคณะกรรมการจริยธรรมการ วิจัย ของสถาบันหรือมหาวิทยาลัย และกรณีที่นักวิจัยมีการดําเนินการวิจัยโดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อ พันธุกรรม (GMO) ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  10. กรณีที่เป็นโครงการความร่วมมือกับสถาบันหรือนักวิจัยต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสภาวิจัยแห่งชาติว่าด้วยการอนุญาตให้นักวิจัยชาวต่างประเทศเข้ามาทําการวิจัยในประเทศไทย พ.ศ.2550
  11. กรณีเป็นโครงการวิจัยที่มีการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ และการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554
  12. หัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมทุกท่าน ต้องลงนามรับรองในข้อเสนอการวิจัยให้ครบถ้วน

ติดต่อสอบถาม:

โทรศัพท์: 02-579-7435
อีเมล์: support@arda.or.th

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
Admin Tech2biz
ระยะเวลารับสมัคร
หมดเขตรับสมัครแล้ว