กรรมวิธีการบำบัดสีน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยฟิล์มโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต 2866 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        “กรรมวิธีการบำบัดสีน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ” ด้วยฟิล์มโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต เพื่อเพิ่มศักยภาพของวิธีการบำบัดสีน้ำเสียอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นวิธีการที่ช่วยลดสีในน้ำเสีย แต่ยังช่วยลดค่า COD BOD ได้ กระบวนการและขั้นตอนทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด

        ในปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีปัญหาน้ำเสียปนเปื้อนสารเคมีที่ซับซ้อนและมีความเข้มสีในปริมาณสูง ส่งผลให้ค่า COD และ BOD เกินมาตรฐาน ซึ่งทำให้การปล่อยน้ำเสียโดยตรงลงในแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ได้ โดยวิธีการบำบัดน้ำเสียทั่วไปใช้ระยะเวลานาน ต้นทุนสูง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพน้อย

        “กรรมวิธีการบำบัดสีน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยการใช้ฟิล์มพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับยางธรรมชาติ มีความเป็นผลึกสูง แข็งแรง มีรูพรุน ทำให้มีความสามารถในการดูดซับสีย้อมได้ดี เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดสีน้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จุดเด่น

  • สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดสีน้ำเสียอุตสาหกรรมสิ่งทอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยทักษิณ
กลุ่มภารกิจทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ