ระบบผลิตไฮโดรเจนชีวภาพจากของเสียอินทรีย์และน้ำเสีย 1706 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        การออกแบบและพัฒนา “ระบบผลิตไฮโดรเจนชีวภาพจากของเสียอินทรีย์และน้ำเสีย” โดยกระบวนการหมักแบบไร้แสงและกระบวนการอิเล็คโตรไลซิสชนิดใช้ตัวเร่งชีวภาพที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ประสิทธิภาพในการย่อยกรดอินทรีย์ในน้ำทิ้งสูงขึ้น และมีอัตราการผลิตไฮโดรเจนสูง เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม

รายละเอียด

        พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่ได้รับความสนใจทั่วโลก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่มีข้อดีมากมาย ทั้งยังเป็นพลังงานสะอาดและเป็นพลังงานหมุนเวียน ไม่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่เป็นอันตรายเมื่อถูกเผาไหม้หรือให้ค่าพลังงานสูง โดยในปัจจุบันการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากการหมักสารอินทรีย์สามารถทำภายใต้สภาวะใช้แสงและไม่ใช้แส่งหรือไร้ออกซิเจนได้

        “ระบบผลิตไฮโดรเจนชีวภาพจากของเสียอินทรีย์และน้ำเสีย” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยกระบวนการหมักแบบไร้แสงและกระบวนการอิเล็คโตรไลซิสชนิดใช้ตัวเร่งชีวภาพที่อุณหภูมิสูง ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการย่อยกรดอินทรีย์ในน้ำทิ้งสูงขึ้น และมีอัตราการผลิตไฮโดรเจนสูง เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม

จุดเด่น

  • วัตถุดิบในกระบวนการผลิตมีต้นทุนไม่สูง
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิต สามารใช้ทดแทนใหม่ได้
  • ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม
  • สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ได้

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยทักษิณ
กลุ่มภารกิจทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ