ตู้ฟักไข่ไอโอที 2159 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “ตู้ฟักไข่ไอโอที” เพิ่มประสิทธิภาพการฟักออก ลดอัตราการสูญเสียไข่ฟัก ช่วยลดภาระการดูแลตู้ฟักไข่ในระหว่างวันให้กับเกษตรกร สามารถบันทึกข้อมูลและภาพถ่ายภายในตู้ฟักไข่ได้ รายงานข้อมูลแบบ Real Time และแจ้งเตือนเมื่อมีอุณหภูมิหรือความชื้นผิดปกติไปยังสมาร์ทโฟนได้

รายละเอียด

        “ตู้ฟักไข่” เป็นอุปกรณ์ช่วยควบคุมสภาวะแวดล้อมทดแทนการฟักไข่แบบธรรมชาติเพื่อให้ได้อัตราการฟักที่มากขึ้น โดยปกติแม่ไก่ 1 ตัว สามารถกกไข่ฟักออกมาเป็นลูกไก่ได้เพียง 40 ตัวต่อปี ในขณะที่ตู้ฟักไข่ สามารถผลิตลูกไก่ได้มากถึง 175 ตัวต่อปี แต่การเฝ้าระวังและการดูแลการทำงานของตู้ฟักไข่นั้น เป็นการสร้างภาระให้กับเกษตรกรในระหว่างวัน หากขาดการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียดไว้ เมื่อเกิดปัญหาจึงไม่สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรงจุด

        “ตู้ฟักไข่ไอโอที” ได้รับการพัฒนาคิดค้นให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฟักออก ลดความเสียหายต่อไข่ฟัก โดยมีการรายงานข้อมูลแบบ Real time และส่งข้อความแจ้งเตือนเมื่อมีอุณหภูมิหรือความชื้นผิดปกติ รวมทั้งการบันทึกภาพถ่ายภายในตู้ฟักไข่ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet of Thing: IoT) ไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยลดภาระการดูแลตู้ฟักไข่ระหว่างวันลงได้ มีระบบบันทึกข้อมูลในคลาวด์ (Cloud Computing) เพื่อให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปรับปรุงกระบวนการฟักไข่ได้ในรอบถัดไป

จุดเด่น

  • เพิ่มประสิทธิภาพการฟักออกเป็นตัว ลดอัตราการสูญเสียไข่ฟัก
  • บันทึกข้อมูลและภาพถ่ายภายในตู้ฟักไข่ได้
  • รายงานข้อมูล Real Time แจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติไปยังสมาร์ทโฟน
  • ช่วยลดภาระและปรับผรุงแผนการทำงานให้กับเกษตรกร

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
หน่วยทรัพย์สินทางปัญญา มทร.ศรีวิชัย
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายสัตว์ปีก
  • กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ