รายละเอียด
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ในทุกระดับและทุกมิติ ให้เป็นแรงงานที่มีศักยภาพสูงและมีทักษะแห่งอนาคต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจอย่างฉับพลันในโลกยุคหลังโควิด-19 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กรอบ / ประเด็นให้การสนับสนุน
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คุณสมบัติ
- หัวหน้าโครงการเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มีผลงานด้านการวิจัยที่มีคุณภาพและทำงานประจำสังกัดอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานในประเทศไทย
- หัวหน้าโครงการ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานวิจัยของภาครัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมีประวัติผลงานวิจัย (track record) ที่แสดงความรู้ความสามารถเชิงประจักษ์ในประเด็นการบริหารจัดการการสร้างและพัฒนากำลังคน
- เป็นโครงการความร่วมมือที่ประกอบด้วย นักวิจัยอย่างน้อย 3 สถาบัน โดยเป็นสถาบันที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานวิจัยภาครัฐ หรือ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และสถาบันแรกจะต้องเป็นต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการ
- ในช่วงเวลาที่รับทุน จะต้องไม่รับทุนวิจัยหลายโครงการในเวลาเดียวกัน และหากมีความจำเป็นต้องรับทุนจากแหล่งทุนอื่นเพิ่มเติม ต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนว่าการรับทุนนั้นเป็นการเสริมเพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้หมวดงบประมาณจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
- สถาบันต้นสังกัดเห็นชอบการสนับสนุนทุนวิจัยตลอดโครงการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
เกณฑ์ / เงื่อนไข
- รูปแบบการพัฒนานักวิจัยไทยเพื่อเป็นแกนนำหลักในภาคีสำคัญของโลก เช่น มีบทบาทสำคัญในงานวิจัย หรือมีส่วนในการขับเคลื่อนเครือข่ายชั้นนำของโลก การเป็น advisory board, steering committee, working group หรือผู้เชี่ยวชาญในภาคีเครือข่ายชั้นนำระดับนานาชาติ
- รูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายนักวิจัยไทยสู่เวทีชั้นนำของโลก ด้วยกลไกการรวมกลุ่มสถาบัน (Consortium) เช่น แพลตฟอร์มการพัฒนาทักษะนักวิจัยเพื่อเป็นหัวหน้าโครงการและได้รับทุนวิจัยระดับนานาชาติ การสร้างโอกาสเพื่อยกระดับบทบาทเชิงรุกของนักวิจัยไทยในเวทีโลกผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
- สนับสนุนภาคีเครือข่ายชั้นนำของโลก ด้าน Quantum, High Energy Physics, AI Metaverse, Earth Space, Precision Medicine, Carbon net zero/Decarbonization และ SHA (Social Humanity and Arts)
* ภาคีเครือข่ายชั้นนำของโลก ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายประเทศไม่น้อยกว่า 3 ประเทศ สมาชิกในภาคีเครือข่ายฯ มี Top 100 citation ในแต่ละสาขา อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อสอบถาม
โทร : 02-109-5432 ต่อ 842-843
E-mail: pmu.b@nxpo.or.th